|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
  |
 |
|
ประวัติความเป็นมาของตำบลคอรุมและหมู่บ้านภายในตำบล มีการเล่านิทานสืบต่อกันมาของแต่ละหมู่บ้านว่า ตั้งชื่อขึ้นมาได้เพราะมีอะไรเป็นมูลเหตุสำคัญ |
|
|
|
จากการสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลทำให้ทราบประวัติความเป็นมาในตำบลคอรุมคือ ชื่อตำบล “คอรุม”คำนี้ได้ปรากฏในการเสด็จประพาสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้กล่าวถึงชื่อ คลองคอรุม ซึ่งเป็นลำคลองที่มีความสำคัญต่อการคมนาคมและการทำมาหากินของชาวบ้านในสมัยนั้น |
 |
|
|
  |
 |
|
ตำบลคอรุม ได้รับจัดตั้งตามกฎหมาย พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2547 เป็น 1 ใน 11 ตำบล ของอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และได้รับการ |
|
|
|
จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลคอรุม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม 2539 ปัจจุบันจัดเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง |
|
|
  |
 |
|
ตำบลคอรุมตั้งอยู่ที่เลขที่ 100 หมู่ที่ 2 ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำน่านไหลผ่านจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ผ่านพื้นที่ตำบลคอรุม |
|
|
|
ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ไปทางทิศใต้ประมาณ 48 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 450 กิโลเมตร ตำบลคอรุมมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 100.50 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 62,863 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคอรุมทั้งหมดจัดได้ว่ามีพื้นที่ที่ใหญ่ เมื่อเทียบกับตำบลอื่นในอำเภอเดียวกัน |
|
|
  |
|
 |
"สานใจ สานพลัง เพื่อพัฒนาบ้านเกิด" |

 |
ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก คือศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจ ตำบลคอรุมมีทั้งหมด 12 หมู่บ้านมีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม
|

 |
12 มือ หมายถึง จับมือกันเพื่อแสดงถึงความรักความผูกพัน มั่นเกลียว รวมพลังเป็นหนึ่งเพื่อพัฒนาบ้านเกิด พัฒนาชุมชน |
|
|
|

 |
|
  |
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
อบต.ไร่อ้อย อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
อบต.บ้านหม้อ และ อบต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
อบต.ในเมือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
อบต.หนองบัว อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย |
|
|
|
    |
|
 |
|

 |
|
|
|
  |
 |
|
เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำน่านมีสภาพราบเรียบ มีระดับความสูงของพื้นที่ที่ประมาณ 50 - 100 เมตรจากระดับน้ำทะเล บริเวณที่ติดกับแม่น้ำน่านมีสภาพเป็นพื้นที่ |
|
|
|
น้ำเคยท่วมถึงเรียกว่า "บุ่งน้ำ"; ตั้งแต่มีเขื่อนสิริกิติ์ สภาพพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง มีพืชพรรณและสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้น พื้นที่ส่วนมากใช้ทำการเกษตรโดยเฉพาะการทำนา ทำไร่ |
|
|
  |
 |
|
ภูมิอากาศตำบลคอรุมเป็นแบบฝนเมืองร้อน เฉพาะฤดูหรือทุ่งหญ้าเมืองร้อน ลักษณะเด่นของอากาศแบบนี้ คือมีฝนตกปานกลาง มีฤดูแล้งคั่นเป็นเวลา |
|
|
|
หลายเดือน ในฤดูหนาวอากาศเย็นและแห้งแล้ง มีฝนตกน้อยกว่า 60 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศของตำบลคอรุมโดยทั่วไปคล้ายกับตำบลอื่นๆ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวคือ การได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม คือลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนำความชื้นมาในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน จากนั้นได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดพาความหนาวเย็นเข้ามาในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีไต้ฝุ่นพัดพาความแห้งแล้งมาในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน |
|
|
  |
 |
|
ประชาชน ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมและการปศุสัตว์ รองลงมาเป็นการค้ามีบางส่วนประกอบอาชีพรับจ้างในเมือง และกรุงเทพฯ นอกจากนี้ |
|
|
|
ยังมีการประกอบอาชีพทางด้านการพาณิชย์และเป็นเจ้าของผู้ประกอบการ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ผลผลิตทางการเกษตรในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ |
|
|
 |
|
|
|
  |
 |
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 9,526 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 4,551 คน |
คิดเป็นร้อยละ 47.77 |

 |
หญิง จำนวน 4,975 คน |
คิดเป็นร้อยละ 52.23 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3,120 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 94.79 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
  |
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านปากคลอง |
643 |
733 |
1,376 |
588 |
|
 |
2 |
|
บ้านม่วงตาล |
286 |
331 |
617 |
233 |
 |
|
3 |
|
บ้านกองโค |
428 |
487 |
915 |
292 |
|
 |
4 |
|
บ้านป่าแต้ว |
406 |
415 |
821 |
266 |
 |
|
5 |
|
บ้านท่าเดื่อ |
480 |
518 |
998 |
278 |
|
 |
6 |
|
บ้านกองโค |
365 |
430 |
795 |
239 |
 |
|
7 |
|
บ้านบางนา |
392 |
403 |
795 |
290 |
|
 |
8 |
|
บ้านคลองกล้วย |
541 |
576 |
1,117 |
282 |
 |
|
9 |
|
บ้านคลองน้ำไหล |
478 |
509 |
987 |
296 |
|
 |
10 |
|
บ้านหนองลี |
157 |
159 |
316 |
111 |
 |
|
11 |
|
บ้านไทรเอน |
139 |
152 |
291 |
100 |
|
 |
12 |
|
บ้านบางนาเหนือ |
236 |
262 |
498 |
145 |
 |
|
 |
|
|
รวม |
4,551 |
4,975 |
9,526 |
3,120 |
 |
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|